top of page

BUILDIND INFORMATION MODELING (BIM)

แบบจำลองสารสนเทศอาคาร

Building Information Modeling (BIM)

แบบจำลองสารสนเทศอาคาร หรือ BIM [Building Information Modeling] เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับวงการงานสถาปัตยกรรม และการก่อสร้าง ที่เริ่มตั้งแต่การออกแบบอาคารไปจนถึงการก่อสร้าง โดยการใช้ระบบคอมพิวเตอร์มาควบคุมกระบวนการต่างๆ ระบบจะสร้างแบบจำลองเสมือนของอาคารที่แม่นยำ แบบจำลองแบบดิจิทัล อย่างการออกแบบ การเขียนแบบ การคำนวณโครงสร้าง การประมาณราคา การจัดซื้อ รวมไปถึงการวางแผนงานต่างๆ ของอาคาร 

bim.jpg

BIM เป็นกระบวนการ [Process] ไม่ใช่ซอฟต์แวร์ [Software] ซึ่งมีเป้าหมายที่จะบูรณการการทำงานในขั้นตอนต่างๆ ของการออกแบบและการก่อสร้างอาคารสถาปัตยกรรม โดยมีเป้าหมายเพื่อลดขั้นตอน ลดความซ้ำซ้อน ลดความขัดแย้ง และลดปัญหาอันเนื่องมาจากข้อมูลผิดพลาดอันเกิดจากกระบวนการทำงานในลักษณะเดิม

ด้วยเทคโนโลยี BIM [Building Information Modeling] ระบบจะสร้างแบบจำลองเสมือนของอาคารที่แม่นยำอย่างน้อยหนึ่งแบบจำลองแบบดิจิทัล แบบจำลองเหล่านี้รองรับการออกแบบในแต่ละขั้น ซึ่งช่วยทำให้วิเคราะห์และควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่ากระบวนการที่ทำด้วยตนเอง เมื่อเสร็จสมบูรณ์ แบบจำลองที่สร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์เหล่านี้จะประกอบด้วยรูปทรงเรขาคณิตที่แม่นยำและข้อมูลที่จำเป็นในการรองรับกิจกรรมการก่อสร้าง การแปรรูป และการจัดซื้อจัดหาเพื่อให้การก่อสร้างบรรลุผล

เรียกง่ายๆว่า BIM นั้นมองกระบวนการตั้งแต่เริ่มต้นของอาคารไปจนครบวงจรชีวิต [Live Cycle] ของอาคาร จึงเป็นเทคโนโลยีอีกหนึ่งขั้นที่เพิ่มศักยภาพการทำงานให้ดีมากยิ่งขึ้น

LOD [Level of Development]

BIM เป็นกระบวนการในการสร้างแบบจำลอง 3 มิติขึ้นมา ดังนั้นในแต่ละขั้นตอนการทำงานในกระบวนการต่างๆ ในแต่ละขั้นตอน จึงต้องมีการกำหนดเกณฑ์ของระดับความละเอียดของโมเดล และข้อมูลประกอบโมเดลขึ้นมา เรียกย่อๆว่า LOD เพื่อเป็นตัวกำหนดให้การสร้างแบบจำลองพร้อมข้อมูลประกอบนั้นสัมพันธ์และสอดคล้องกับขั้นตอนในการทำงานต่างๆ นั่นเอง

LOD.png

การกำหนด LOD [Level of Development] จะมีส่วนประกอบของรูปแบบข้อมูลที่นำมาใช้ออกแบบ 2 ส่วนด้วยกัน คือ ข้อมูลกราฟฟิก [Graphics] ซึ่งก็คือตัวโมเดลที่เป็นส่วนของแบบจำลองทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ และข้อมูลที่ไม่ใช่กราฟิก [Non-Graphics]

หลักการและกระบวนการทำงานของ BIM

หลักการและกระบวนการทำงานภายใต้ระบบ BIM นั้น ต้องทำงานผ่านระบบซอฟต์แวร์ที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อรองรับกระบวนการดังกล่าว โดยลักษณะของซอฟต์แวร์จะเน้นไปที่การทำงานในการสร้างแบบจำลอง 3 มิติ ขึ้นมาเป็นหลัก และจะมีกลไกในการควบคุมขนาดและสัดส่วนต่างๆ ของวัตถุด้วยระบบพารามิเตอร์ [Paramettic Object-Based] ซึ่งการควบคุมการทำงานนั้นจะเป็นการทำงานผ่านมุมมองต่างๆ ทั้งมุมมอง 2 มิติ และ 3 มิติ และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของวัตถุใดๆ ก็จะส่งผลถึงมุมมองอื่นทั้งหมด ทำให้การสร้างสรรค์งานสามารถทำได้อย่างราบรื่นพร้อมๆกัน โดยไม่ต้องกังวลความสัมพันธ์ของแบบมุมมองต่างๆอีกต่อไป

bim-output.png

ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นบนระบบ BIM นั้น จึงมีลักษณะของการแสดงผลของแบบจำลองในหลากหลายมุมมอง ทั้ง 2 มิติ 3 มิติ และแสดงในรูปแบบของตารางรายการดังนั้น เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขส่วนใดของแบบจำลองที่สร้างขึ้น การแก้ไขนั้นก็จะส่งผลออกไปยังทุกๆมุมมอง เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนตามกันทั้งหมด และรวมถึงความสัมพันธ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนของกราฟิก [Graphics] และข้อมูลที่ไม่ใช่กราฟิก [Non-Graphics]

Credit

Written by : 8Plan team

bottom of page